***โลซิน เกาะหินที่มีมูลค่าดังเพชร กลางอ่าวไทย ***
กองหินกลางทะเลเวิ้งว้างในอ่าวไทย โผล่พ้นน้ำขึ้นมาไม่เกิน 100 ตารางเมตร สภาพส่วนใหญ่เป็นหินล้วน ๆ ไม่มีต้นไม้ใบหญ้า ห่างจาก ชายฝั่งอำเภอเมือง จังหวัดนราธิวาส ไปทางทิศตะวันออกเป็นระยะทาง 106 กิโลเมตร นี้แหละครับคือเกาะที่สร้างมูลค่าเป็นตัวเงินไม่ได้ให้แก่ประเทศไทย ส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครรู้จักนอกจากชาวประมงและนักดำน้ำเพราะปะการังที่นี้สวย มากๆๆๆ
เบื้องหลังกลับเป็นตำนานของโครงการมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้าน หรืออาจเรียกได้ว่า เกาะโลซินเป็นเกาะที่มีมูลค่าเท่ากับโคตรเพชรเลยก็ได้ เพราะหากไม่มีเกาะโลซิน วันนี้เราก็คงไม่มีสิทธิ์บนพื้นที่สัมปทานก๊าซกลางอ่าวไทย พื้นที่ครอบคลุมมากกว่า 7,000 ตารางกิโลเมตร และมีแหล่งสำรองก๊าซให้ประเทศถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเท่ากับ 50% ของแหล่งก๊าซที่มีอยู่ของไทยทั้งหมด
ใช่แล้ว..เกาะโลซินมีความเกี่ยวพัน กับโครงการขุดเจาะก๊าซกลางอ่าวไทยที่เรียกว่า พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียอย่างแนบแน่นประวัติความเป็นมาและความสำคัญของเกาะโลซิน ต้องเริ่มตั้งแต่ไทย-มาเลเซียโต้เถียงกันถึงเรื่องสิทธิเหนือน่านน้ำ โดยเริ่มตั้งโต๊ะโต้เถียงกันอย่างจริงจังในปี 2515
ไทยและมาเลเซียได้เจรจาเรื่องเส้นเขตแดนในทะเลอาณาเขต ในปี 2515
สามารถทำความตกลงกันได้ ตั้งแต่กึ่งกลาง ปากแม่น้ำโกลกออกไปในทะเล
36 ไมล์ทะเลเท่านั้น เพราะเพราะหากยึดตามข้อตกลงสากลแบ่งพื้นที่กลางทะเล
ด้วยวิธีลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของแผ่นดินแต่ละฝ่ายขึ้นไปที่
ลักษณะแผ่นดินของมาเลเซียที่งุ้มเข้ามาในอ่าวไทย ขณะที่แผ่นดินของไทยกลับเทลาดออกไป
หากลากเส้นตามหลักดังกล่าว เส้นนั้นจะทำมุมออกไปในอ่าวไทยแนวตะวันออกเฉียงเหนือ
ทำให้ไทยเสียเปรียบในการเจรจาอย่างมาก การเจรจาจึงหยุดไปหลายปี
มีการเจรจากันต่ออีกครั้งเมื่อปี 2521 เพื่อจะต่อเส้นเขตแดนในเขตไหล่ทวีป
ออกไปให้บรรจบกับเส้น claim ของเวียดนามที่กลางอ่าวไทยตอนล่าง
การเจรจาครั้งนี้บรรยากาศไม่ราบรื่นเหมือนการเจรจาครั้งแรก
เพราะประเทศไทยได้นึกถึง โลซิน หินโสโครกร้างกลางทะเล
กระโจมไฟกลายเป็นหลักฐานที่สำคัญ ในการอ้างสิทธิ์ของไทย ต่อกองหินร้างนี้
แต่กองหินนั้นไม่ใช่ เกาะ ประเทศไทยจึงไม่อาจอ้างสิทธิ์พื้นที่ทางทะเลได้
แต่โชคเป็นของฝ่ายไทยอีกครั้ง ที่เรายังคงใช้กฎหมายทะเลดั้งเดิม 4 ฉบับ
ตามอนุสัญญากรุงเจนีวา ค.ศ.1958 ซึ่งประเทศไทยลงนามและให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ
ซึ่งกำหนดไว้เพียงว่า แม้เป็นหินกองหินที่โผล่พ้นน้ำ ก็สามารถนิยามว่าเป็นเกาะได้
เมื่อได้ชื่อว่าเป็นเกาะ ก็ย่อมมีไหล่ทวีปเป็นของตัวเอง มีผลไปถึงเขตเศรษฐกิจจำเพาะ
การกำหนดอาณาเขต ผลประโยชน์และอำนาจอธิปไตยทางทะเล
มาเลเซียไม่ต้องการเจรจาโดยใช้เส้นเขตแนวนี้ ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้
เพราะการอ้างอธิปไตยเหนือเกาะโลซิน ทำให้เส้นเขตแนว เกิดเป็นสองแนว
แนวที่ลากเป็นเส้นตั้งฉากจากฝั่งออกไปในทะเล ประเทศไทย เสียเปรียบ
แนวที่ลากโดยยึดถือ เส้นแนวเกาะโลซิน ประเทศมาเลเซีย เสียเปรียบ
เกิดเป็นพื้นทีทับซ้อนทางทะเล เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีอาณาเขตถึง 7250 ตารางกิโลเมตร
การเจรจาระดับเจ้าหน้าที่ดูเหมือนจะมาถึงทางตัน บรรยากาศทางการเมืองก็ตึงเครียดขึ้น
จากปัญหาเรือประมงไทยเข้าไปจับปลาในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนนี้แล้ว
ถูกเจ้าหน้าที่มาเลเซียจับไปดำเนินคดี ขณะนั้นนายกรัฐมนตรีของไทยคือ
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย คือ ดาโต๊ะ ฮูสเซน ออน
ทั้งสองท่านมีความสนิทสนมกันเป็นส่วนตัว จึงได้ตกลงใจที่จะคลี่คลายปัญหานี้
โดยกำหนดให้มีการ เจรจา ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2522
ผลของการเจรจา คือ ความตกลงจัดตั้งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
ในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว ความตกลงนี้เรียกกัน ว่า MOU เชียงใหม่
ซึ่งปัจจุบันเราเรียกว่า JDA ซึ่งต้องแบ่งปันผลประโยชน์คนละครึ่งหนึ่งกับมาเลเซีย นั่นเอง
ภายหลังมีการลงนามบันทึกข้อตกลงมีการสำรวจ พบว่ามีแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาล
ในพื้นที่ ถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเท่ากับ 50% ของแหล่งก๊าซที่มีอยู่ของไทยทั้งหมด
โดย 75 เปอร์เซ็นต์อยู่ในพื้นที่ด้านล่างสามเหลี่ยม ในซีกพื้นที่ของมาเลเซีย
หากไม่มี "โลซิน" ไทยย่อมไม่อาจอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อน ขนาด 7250 ตารางกิโลเมตร
หากไม่มี "โลซิน" ไทยก็จะไม่มีสิทธิ์ในแหล่งก๊าซมูลค่ามหาศาลกลางอ่าวไทย
หากไม่มี "โลซิน" เราก็คงไม่มีเส้นเขตแดนที่มีอธิปไตยทางทะเลด้านใต้อ่าวไทยลงไปถึงตรงจุดนี้
และหากไม่มี "โลซิน" เราก็คงไม่มีแหล่งดำน้ำที่สวยงามกลางอ่าวไทย เช่นวันนี้..
เบื้องหลังกลับเป็นตำนานของโครงการมูลค่ามหาศาลหลายแสนล้าน หรืออาจเรียกได้ว่า เกาะโลซินเป็นเกาะที่มีมูลค่าเท่ากับโคตรเพชรเลยก็ได้ เพราะหากไม่มีเกาะโลซิน วันนี้เราก็คงไม่มีสิทธิ์บนพื้นที่สัมปทานก๊าซกลางอ่าวไทย พื้นที่ครอบคลุมมากกว่า 7,000 ตารางกิโลเมตร และมีแหล่งสำรองก๊าซให้ประเทศถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเท่ากับ 50% ของแหล่งก๊าซที่มีอยู่ของไทยทั้งหมด
ใช่แล้ว..เกาะโลซินมีความเกี่ยวพัน กับโครงการขุดเจาะก๊าซกลางอ่าวไทยที่เรียกว่า พื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซียอย่างแนบแน่นประวัติความเป็นมาและความสำคัญของเกาะโลซิน ต้องเริ่มตั้งแต่ไทย-มาเลเซียโต้เถียงกันถึงเรื่องสิทธิเหนือน่านน้ำ โดยเริ่มตั้งโต๊ะโต้เถียงกันอย่างจริงจังในปี 2515
ไทยและมาเลเซียได้เจรจาเรื่องเส้นเขตแดนในทะเลอาณาเขต ในปี 2515
สามารถทำความตกลงกันได้ ตั้งแต่กึ่งกลาง ปากแม่น้ำโกลกออกไปในทะเล
36 ไมล์ทะเลเท่านั้น เพราะเพราะหากยึดตามข้อตกลงสากลแบ่งพื้นที่กลางทะเล
ด้วยวิธีลากเส้นตั้งฉากจากแนวโค้งของแผ่นดินแต่ละฝ่ายขึ้นไปที่
ลักษณะแผ่นดินของมาเลเซียที่งุ้มเข้ามาในอ่าวไทย ขณะที่แผ่นดินของไทยกลับเทลาดออกไป
หากลากเส้นตามหลักดังกล่าว เส้นนั้นจะทำมุมออกไปในอ่าวไทยแนวตะวันออกเฉียงเหนือ
ทำให้ไทยเสียเปรียบในการเจรจาอย่างมาก การเจรจาจึงหยุดไปหลายปี
มีการเจรจากันต่ออีกครั้งเมื่อปี 2521 เพื่อจะต่อเส้นเขตแดนในเขตไหล่ทวีป
ออกไปให้บรรจบกับเส้น claim ของเวียดนามที่กลางอ่าวไทยตอนล่าง
การเจรจาครั้งนี้บรรยากาศไม่ราบรื่นเหมือนการเจรจาครั้งแรก
เพราะประเทศไทยได้นึกถึง โลซิน หินโสโครกร้างกลางทะเล
กระโจมไฟกลายเป็นหลักฐานที่สำคัญ ในการอ้างสิทธิ์ของไทย ต่อกองหินร้างนี้
แต่กองหินนั้นไม่ใช่ เกาะ ประเทศไทยจึงไม่อาจอ้างสิทธิ์พื้นที่ทางทะเลได้
แต่โชคเป็นของฝ่ายไทยอีกครั้ง ที่เรายังคงใช้กฎหมายทะเลดั้งเดิม 4 ฉบับ
ตามอนุสัญญากรุงเจนีวา ค.ศ.1958 ซึ่งประเทศไทยลงนามและให้สัตยาบันเป็นภาคีอนุสัญญาฯ
ซึ่งกำหนดไว้เพียงว่า แม้เป็นหินกองหินที่โผล่พ้นน้ำ ก็สามารถนิยามว่าเป็นเกาะได้
เมื่อได้ชื่อว่าเป็นเกาะ ก็ย่อมมีไหล่ทวีปเป็นของตัวเอง มีผลไปถึงเขตเศรษฐกิจจำเพาะ
การกำหนดอาณาเขต ผลประโยชน์และอำนาจอธิปไตยทางทะเล
มาเลเซียไม่ต้องการเจรจาโดยใช้เส้นเขตแนวนี้ ทั้งสองฝ่ายไม่สามารถตกลงกันได้
เพราะการอ้างอธิปไตยเหนือเกาะโลซิน ทำให้เส้นเขตแนว เกิดเป็นสองแนว
แนวที่ลากเป็นเส้นตั้งฉากจากฝั่งออกไปในทะเล ประเทศไทย เสียเปรียบ
แนวที่ลากโดยยึดถือ เส้นแนวเกาะโลซิน ประเทศมาเลเซีย เสียเปรียบ
เกิดเป็นพื้นทีทับซ้อนทางทะเล เป็นรูปสามเหลี่ยมที่มีอาณาเขตถึง 7250 ตารางกิโลเมตร
การเจรจาระดับเจ้าหน้าที่ดูเหมือนจะมาถึงทางตัน บรรยากาศทางการเมืองก็ตึงเครียดขึ้น
จากปัญหาเรือประมงไทยเข้าไปจับปลาในบริเวณพื้นที่ทับซ้อนนี้แล้ว
ถูกเจ้าหน้าที่มาเลเซียจับไปดำเนินคดี ขณะนั้นนายกรัฐมนตรีของไทยคือ
พลเอก เกรียงศักดิ์ ชมะนันท์ และนายกรัฐมนตรีของมาเลเซีย คือ ดาโต๊ะ ฮูสเซน ออน
ทั้งสองท่านมีความสนิทสนมกันเป็นส่วนตัว จึงได้ตกลงใจที่จะคลี่คลายปัญหานี้
โดยกำหนดให้มีการ เจรจา ที่จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อปี 2522
ผลของการเจรจา คือ ความตกลงจัดตั้งพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย
ในพื้นที่ทับซ้อนดังกล่าว ความตกลงนี้เรียกกัน ว่า MOU เชียงใหม่
ซึ่งปัจจุบันเราเรียกว่า JDA ซึ่งต้องแบ่งปันผลประโยชน์คนละครึ่งหนึ่งกับมาเลเซีย นั่นเอง
ภายหลังมีการลงนามบันทึกข้อตกลงมีการสำรวจ พบว่ามีแหล่งก๊าซธรรมชาติจำนวนมหาศาล
ในพื้นที่ ถึง 5 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต หรือเท่ากับ 50% ของแหล่งก๊าซที่มีอยู่ของไทยทั้งหมด
โดย 75 เปอร์เซ็นต์อยู่ในพื้นที่ด้านล่างสามเหลี่ยม ในซีกพื้นที่ของมาเลเซีย
หากไม่มี "โลซิน" ไทยย่อมไม่อาจอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ทับซ้อน ขนาด 7250 ตารางกิโลเมตร
หากไม่มี "โลซิน" ไทยก็จะไม่มีสิทธิ์ในแหล่งก๊าซมูลค่ามหาศาลกลางอ่าวไทย
หากไม่มี "โลซิน" เราก็คงไม่มีเส้นเขตแดนที่มีอธิปไตยทางทะเลด้านใต้อ่าวไทยลงไปถึงตรงจุดนี้
และหากไม่มี "โลซิน" เราก็คงไม่มีแหล่งดำน้ำที่สวยงามกลางอ่าวไทย เช่นวันนี้..